ทำอย่างไรเมื่อเจอผู้ป่วยโรคลมชัก



โรคลมชักหรือลมบ้าหมู ที่เราเคยได้ยินกันนั้น อาจจะพบไม่มากเพราะว่าบางคนที่เป็นจะเก็บเป็นความลับไม่อยากให้ใครรู้ว่าตัวเองมีอาการจะพบว่าเป็นข่าวที่ว่าขับรถบนถนน แล้วเกิดอาการชักกำเริบ ไม่สามารถบังคับตัวเองได้ทำให้เกิดเหตุร้ายบ่อยครั้ง

วันนี้ผมจะมาแนะนำว่า เมื่อท่านเจอผู้ป่วยที่มีอาการลมชัก กำเริบขึ้นคุณต้องทำอย่างไร
1. นำตัวผู้ป่วยไปอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย
2.ปลดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้หลวม หากใส่แว่นให้ถอดออก หากหมอนหรือสิ่งของนุ่ม ๆ มาหนุนศีรษะ
3.คอยจับศีรษะและแขนขา อย่าให้กระแทกพื้นหรือกำแพง
4.จับผู้ป่วยนอนตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง ระวังมิให้เศษอาหาร เสมหะ น้ำลาย หรือเลือดที่อาจไหลอยู่ในปากสำลักเข้าไปในปอด
5.ถอดฟันปลอมออก หากผู้ป่วยใส่
6.ไม่จำเป็นต้องเป่าปากหรือนวดหัวใจ
7.อย่าให้คนมุงดู เพราะอาจทำให้ขาดอากาศหายใจ
8.ห้ามใช้มือหรือนิ้วล้วงคอ หรือง้างปากคนไข้ เพราะอาจถูกคนไข้กัดนิ้วขาดได้
9.ไม่จำเป็นต้องใช้ช้อน ด้ามไม้ ดินสอ ปากกา หรือวัตถุใด ๆ สอดใส่ปากคนไข้ เพื่อป้องกันมิให้กัดลิ้น (ดังที่เคยแนะนำ) นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังอาจทำให้ปากและฟันได้รับบาดเจ็บหรือมีเศษวัตถุถูดกัดแตกหักอุดกั้นทาง เดินหายใจได้
10.ไม่ควรผูกมัดหรือต่อสู้กับคนไข้ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บ ควรปล่อยให้อาการชักนั้นหยุดไปได้

ผู้ป่วยโรคลมชักเสี่ยงเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไปหรือไม่?

หากจะพูดถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก แล้วนั้น โอกาสที่เค้าจะเสียชีวิตนั้นมีมากเหมือนกัน ซึ่งสาเหตุมาจากหลายสาเหตุและหลายเหตุการณ์ บางคนเป็นโรคลมชักก็อาจจะมีอาการกำเริบเลเลยเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ นั่นถึงกล่าวได้ว่า โอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคลมชัก ไม่ได้แตกต่างจากคนทั่วไป มีรายงานว่า มีบางคนที่มีอาการกำเริบแล้ว เกิดเสียชีวิตกระทันหัน บางพื้นที่ หรือบางคนจะเรียกว่า อาการไหลตาย ซึ่งจะพบในผู้ป่วยไทย และสาเหตุที่เสียชีวิตแบบกระทันหันนี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคลมชักมากกว่า เช่น โรคเนื้องอกสมอง โรคอัมพาตจากหลอดเลือดสมองตีบ ตัน หรือแตก อย่างไรก็ตามผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการชัก เช่น ชักขณะขับรถ ชักขณะอยู่ในที่สูง ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวกเนื่องจากขณะชักมีอาการหมดสติส่งผลให้เกิดอุบัติ เหตุและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้ เห็นมั้ยละครับว่า โอกาสของผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักนั้น มีความเสี่ยงไม่ต่างอะไรกับคนปกติ

"ควรดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี กินยาตรงเวลา ไม่ประมาท ไม่ขับรถ "

วิธการคุมกำเนิดของของผู้ป่วยโรคลมชัก(หญิง)

บทความที่แล้วเราได้รู้แล้วว่าหญิงที่เป็นโรคลมชัก  หากมีบุตรนั้นมีโอกาศพิการ แต่น้อยนะครับ ทางแพทย์ที่เชี่ยวชาญจึงให้หลีกเลี่ยงที่จะมีบุตรเพราะหากอาการกำเริบระหว่างตั้งครรค์นั้น มีความเสี่ยงมาก วันนี้ผมจึงนำวิธีการคุมกำเนิดของหญิที่เป็นโรคลมชัก มาให้ดูครับ

 การคุมกำเนิดวิธีต่าง ๆ สำหรับผู้หญิง ได้แก่
ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด
คืออะไร?
ยาเม็ดคุมกำเนิดอาจเรียกได้ว่าเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของผู้หญิงเลยทีเดียว ตามปกติยาหนึ่งแผงจะใช้สำหรับวงจรรอบเดือน 28 วัน
โดยแบ่งเป็นประเภทที่ต้องทานยาทุกวัน วันละหนึ่งเม็ดอย่างต่อเนื่อง หรือทานทุกวัน วันละหนึ่งเม็ดเป็นเวลา 21 วัน และเว้นช่วง 7 วันก่อนจะเริ่มทานยาแผงใหม่
ข้อดีล่ะ?
การคุมกำเนิดวิธีนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น จะทำให้มีประจำเดือนที่สม่ำเสมอ ลดความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกในมดลูก โอกาสมีซีสต์ในรังไข่น้อยลง ฯลฯ
ความเชื่อ – ยาเม็ดคุมกำเนิดทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
สำหรับผู้ที่ทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนต่ำ น้ำหนักตัวมักคงที่เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม อาจมีผู้หญิงบางคนที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อยขณะที่บางคนน้ำหนักลง แต่ไม่มีความแตกต่างเด่นชัดในเรื่องนี้เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้ยา เม็ดคุมกำเนิด นอกจากนี้ ยาเม็ดคุมกำเนิดสมัยใหม่ยังได้รับการพัฒนาให้สามารถยับยั้งการบวมน้ำอันเกิด จากฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงช่วยป้องกันน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการบวมน้ำได้ด้วย
บทความใกล้เคียง: ลดน้ำหนักหลังคลอด
ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง
คืออะไร?
ยาคุมกำเนิดชนิดนี้จะปล่อยฮอร์โมนผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแส เลือดอย่างต่อเนื่อง คุณต้องเปลี่ยนแผ่นคุมกำเนิดสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลาสามสัปดาห์ จากนั้นก็เว้นช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนจะเริ่มวงจรใหม่ แผ่นแปะผิวหนังคุมกำเนิดไม่ได้ทำจากวัสดุที่ใส วิธีนี้จึงเป็นการคุมกำเนิดที่แลเห็นได้
ผลข้างเคียงล่ะ?
ปวดศีรษะ หน้าอกคัดตึง ผิวหนังระคายเคืองและเลือดออกกะปริบกะปรอย
ยาคุมกำเนิดแบบฉีด
คืออะไร?
ตามปกติแล้ว ยาคุมกำเนิดชนิดนี้แพทย์จะเป็นผู้ฉีดให้เดือนละครั้งหรือสามเดือนครั้ง นี่เป็นวิธีการใช้ฮอร์โมนซึ่งออกฤทธิ์คุมกำเนิดระยะยาว
ผลข้างเคียงล่ะ?
น้ำหนักตัวเพิ่ม ปวดศีรษะ วิงเวียน มีสิวขึ้น ผิวมัน ท้องอืดเฟ้อ หน้าอกคัดตึง แน่นท้อง อารมณ์และความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลง หลังการฉีดยาคุมกำเนิดแล้วจะไม่สามารถขจัดฮอร์โมนออกจากร่างกายได้ ผลข้างเคียงเหล่านี้จึงอาจเกิดขึ้นนับแต่วันที่ฉีดและจะคงอยู่หลังจากนั้น ระยะหนึ่ง
ยาคุมกำเนิดชนิดฝังใต้ผิว
คืออะไร?
วิธีนี้คือการฝังหลอดพลาสติกนิ่ม ๆ เล็ก ๆ ซึ่งบรรจุฮอร์โมนโปรเจสโตเจนเข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขนด้วยการผ่าตัดขนาด เล็กโดยแพทย์หรือพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ โปรเจสโตเจนจะค่อย ๆ ปล่อยเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อยและมีฤทธิ์คุมกำเนิดนานสามถึงห้าปีโดยผู้ ฝังสามารถเอาออกเมื่อใดก็ได้ด้วยการผ่าตัดขนาดเล็ก ยาคุมกำเนิดชนิดฝังใต้ผิวเหมาะอย่างยิ่งกับผู้หญิงที่ต้องการคุมกำเนิดใน ระยะยาวและอยากหลีกเลี่ยงการทานยาเม็ดคุมกำเนิดทุกวัน นอกจากนี้ยังเหมาะกับคุณแม่ที่อยู่ในระหว่างให้นมลูกน้อยด้วย หลังผ่าตัดเอาตัวยาออก ร่างกายจะกลับสู่ภาวะเจริญพันธุ์ตามปกติ ผลพลอยได้ของการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้คือลดการปวดประจำเดือนและประจำเดือนมา มาก
ผลข้างเคียงล่ะ?
ผู้หญิงบางคนอาจรู้สึกปวดศีรษะ หน้าอกคัดตึง ท้องอืดเฟ้อ อารมณ์และความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลง รวมทั้งอาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอยในช่วงสองสามเดือนแรก
ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบโปรเจสโตเจนอย่างเดียว (Mini-Pill)
คืออะไร?
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้มีฮอร์โมนโปรเจสโตเจนอย่างเดียว และต้องทานวันละหนึ่งเม็ดทุกวันอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการหยุดระหว่างแผง ซึ่งหมายความว่าต้องทานยาในช่วงที่มีประจำเดือนด้วย โปรเจสโตเจนที่วางจำหน่ายมีหลายประเภท คุณแม่ที่อยู่ในระหว่างให้นมลูกสามารถใช้การคุมกำเนิดวิธีนี้ได้ เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อนมแม่
ข้อควรระวังของการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดโปรเจสโตเจนคือต้องทาน ทุกวันเวลาเดิมเสมอ ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้ผล หากทานช้าต้องไม่นานเกิน 3 ชั่วโมงจากเวลาเดิม ขณะที่ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดอื่นสามารถทานล่าช้ากว่าเวลาเดิมได้มากที่สุด 12 ชั่วโมง
ผลข้างเคียงล่ะ?
ผู้หญิงบางคนอาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอย แต่อาการนี้จะหายไปในที่สุด ผลข้างเคียงชั่วคราวอื่น ๆ ได้แก่ มีสิวขึ้น ผิวมัน หน้าอกคัดตึง ท้องอืดเฟ้อและปวดศีรษะ
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
คืออะไร?
ควรทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินให้เร็วที่สุดหลังมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ได้ป้องกัน ควรจะทานในช่วง 12 ชั่วโมงแรกหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่อาจทานล่าช้าได้มากที่สุดภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังมีเพศสัมพันธ์ ยิ่งทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเร็วเท่าไรก็ยิ่งได้ผลมากเท่านั้น
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการตกไข่
การคุมกำเนิดฉุกเฉินวิธีนี้ควรใช้เป็นทางเลือกสำรองเมื่อมี เพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือเมื่อการคุมกำเนิดวิธีอื่นล้มเหลวเท่านั้น (เช่น ถุงยางอนามัยขาดหรือลืมทานยาเม็ดคุมกำเนิด) ไม่แนะนำให้ใช้เป็นประจำ
ห่วงคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน (IUS)
คืออะไร?
คือการให้แพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญสอดอุปกรณ์พลาสติก นิ่ม ๆ ขนาดเล็กซึ่งบรรจุฮอร์โมนโปรเจสโตเจนเข้าไปในโพรงมดลูก ห่วงจะค่อย ๆ ปล่อยฮอร์โมนโปรเจสโตเจนปริมาณน้อยเข้าสู่ร่างกาย การคุมกำเนิดวิธีนี้ป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการทำให้เมือกบริเวณปากมดลูก เหนียว อสุจิผ่านเข้าไปได้ยาก และทำให้ผนังมดลูกบางลงเพื่อป้องกันไม่ให้ไข่ที่ผสมแล้วฝังตัวได้ ทั้งยังอาจยับยั้งการตกไข่ในผู้หญิงบางคนด้วย
ผลข้างเคียงล่ะ?
อาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอยในช่วงสองสามเดือนแรก แต่อาการนี้จะหายไปในที่สุด บางคนอาจรู้สึกปวดศีรษะ หน้าอกคัดตึงหรือวิงเวียนในช่วงแรก ๆ ด้วย
ห่วงคุมกำเนิดชนิดทองแดง (IUD)
คืออะไร?
คือการให้แพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญสอดอุปกรณ์นิ่ม ๆ ขนาดเล็กซึ่งพันด้วยเส้นลวดทองแดงเข้าไปในโพรงมดลูก ห่วงคุมกำเนิดนี้สามารถทิ้งไว้ในมดลูกได้นาน 5-10 ปี (ขึ้นอยู่กับประเภทของห่วง) ห่วงคุมกำเนิดชนิดทองแดงออกฤทธิ์รบกวนการเดินทางของไข่และอสุจิโดยปล่อยสาร บางอย่างซึ่งทำให้อสุจิเคลื่อนที่ไม่ได้และทำให้ไข่เดินทางมาตามท่อนำไข่ได้ ยาก หากไข่ได้รับการผสม ห่วงจะออกฤทธิ์ให้ไข่เคลื่อนที่เร็วเกินไปจนไม่สามารถฝังตัวในมดลูกได้
ผลข้างเคียงล่ะ?
ห่วงคุมกำเนิดชนิดทองแดงไม่เหมาะกับผู้หญิงที่มีภาวะโลหิต จาง การคุมกำเนิดวิธีนี้ไม่ป้องกันหรือเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในอุ้ง เชิงกราน ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้คือปวดประจำเดือน วิงเวียน ประจำเดือนมามากและนานกว่าปกติ
การทำหมันหญิง (ผูกท่อนำไข่)
คืออะไร?
คือกระบวนการผ่าตัดเพื่อตัดท่อนำไข่ (ซึ่งพาไข่จากรังไข่มาสู่มดลูก) หรือทำให้ท่อนำไข่อุดตันเพื่อไม่ให้อสุจิเจอกับไข่ได้ การผ่าตัดจะส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์แต่ไม่กระทบความต้องการและสมรรถภาพทาง เพศ
การทำหมันเป็นทางเลือกเฉพาะสำหรับคนที่ตัดสินใจแล้วว่าไม่ อยากมีลูกทั้งในปัจจุบันและในอนาคต แม้จะมีวิธีแก้หมัน แต่ขั้นตอนก็ซับซ้อนและไม่ค่อยประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ในบางรายอาจเกิดกรณีหมันหลุดซึ่งท่อนำไข่กลับมาเชื่อมต่อกันอีกได้

คำถามยอดฮิต ผู้หญิงที่เป็นโรคลมชัก สามารถแต่งงานมีลูกได้มั้ย


หลายคนอาจจะสงสัยเรื่องของผู้หญิงที่เป็นโรคลมชัก จะสามารถมีลูก ได้หรือไม่ นี่เป็นเรื่องนึงที่ผู้ป่วยผู้หญิงที่มีอาการลมชักต้องตะหนักเป็นอย่างมาก ต้องกังวลในเรื่องนี้วันนี้เราจะมาหาคำตอบว่า ได้หรือไม่
โรคลมชักนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ฝ่ายชายจะไม่ค่อยต้องกังวลเท่าไหร่ แต่ผู้หญิงต้องคิดหนักหน่อยเพราะหากต้องการจะมีครอบครัว
ถ้าผู้หญิงที่เป็นโรคลมชัก ต้องทานยากันชักเพราะควบคุมอาการไม่ได้นั้น ควรต้องวางแผนครอบครัวเป็นอันดับแรก เพื่อป้องกันไม่ให้มีการตั้งครรภ์ เนื่องจากยากันชักทุกชนิด อาจส่งผลให้เด็กในครรภ์มีความพิการตั้งแต่กำเนิดได้ หากแม่ของเด็กเป็นโรคลมชักแล้ว แต่อาการไม่มี ทานยาดี แม่เด็กแข็งแรงโอกาสที่เด็กออกมานั้น มีโอกาส พิการ 2-3 % และหากมีอาการกำเริบอยู่ต่อเนื่องโอากาสทีลูกจะเป็นก็เพิ่มขึ้น ทางที่ดีคือ จะต้องคุมกำเนิดจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งการกินยาเม็ดคุมกำเนิดนั้น
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเม็ดฮอร์โมนคุมกำเนิด เพราะยาคุมกำเนิดและยากันชักจะมีโอกาสตีกันได้สูง ส่งผลให้ระดับยากันชักและยาคุมกำเนิดมีระดับลดต่ำลงจนไม่สามารถควบคุมการชักและป้องกันการตั้งครรภ์ได้ การคุมกำเนิดที่ดีได้แก่ การใช้ถุงยางอนามัย และใส่ห่วง เป็นต้น 

 ปัญหาที่พบบ่อยที่สุด คือ ผู้ป่วยตั้งครรภ์เรียบร้อยแล้ว จึงมาพบแพทย์ ผู้ป่วยก็จะถามผมว่าจะทำอย่างไรดี ลูกจะพิการหรือไม่ จะคลอดอย่างไร ต้องผ่าตัดหรือไม่ ต้องหยุดยาหรือเปลี่ยนยาหรือไม่

ความพิการตั้งแต่กำเนิดที่พบได้แก่ ความพิการใบหน้า ช่องปาก และที่รุนแรง คือ ความผิดปกติของกระดูกสันหลังและไขสันหลัง โดยความพิการทั้งหมดนั้น จะเกิดขึ้นตั้งแต่ทารกมีอายุครรภ์เพียง 8-10 สัปดาห์เท่านั้น ดังนั้น ถ้ามาพบแพทย์หลังจากตั้งครรภ์มากกว่า 8 สัปดาห์ การหยุดยากันชักหรือเปลี่ยนยากันชักก็ไม่มีประโยชน์อะไร

กรณีผู้ป่วยวางแผนที่จะตั้งครรภ์ แพทย์จะต้องเริ่มต้นจากการแนะนำ ถึงผลของการตั้งครรภ์ต่อโรคลมชัก ผลของโรคลมชักต่อการตั้งครรภ์ และผลของยากันชักต่อทารกในครรภ์

การตั้งครรภ์นั้นจะมีโอกาสกระตุ้นให้มีการชักบ่อยขึ้นถึง 1 ใน 3 ส่วน ผลของโรคลมชักต่อการตั้งครรภ์นั้นมีหลายประการได้แก่ การแท้ง คลอดก่อนกำหนด ทารกตัวเล็กน้ำหนักน้อยกว่าปกติ ส่วนยากันชักนั้นก็มีโอกาสเกิดความพิการตั้งแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น

ถ้าผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจและยอมรับถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องวางแผนเกี่ยวกับการใช้ยาและควบคุมอาการชักทีละขั้นตอน ดังนี้

    ปรับยากันชักให้เหมาะสมทั้งชนิด ขนาด และวิธีการทาน แนะนำให้ลดหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่างๆ เพื่อให้ควบคุมอาการชักให้ได้
    ถ้ามีเวลาพอในการเตรียมการตั้งครรภ์ สามารถปรับเปลี่ยนยากันชักที่มีโอกาสเกิดความพิการตั้งแต่กำเนิดที่ร้ายแรง เช่น วาวโปลิคแอซิค หรือคาร์บาร์มาซีปีน เป็น ลาแมคทอล หรือลีวีไทราซีแทม
    ถ้าผู้ป่วยควบคุมอาการชักได้ดี และสามารถปรับลดขนาดยาลงได้ ก็ควรปรับลดขนาดยาก่อนที่จะตั้งครรภ์
    ควรให้กรดโฟลิคเสริม เพื่อลดโอกาสการเกิดความพิการของทารกในครรภ์ และถ้าสามารถติดตามระดับยากันชักได้ก็ควรทำ แต่ต้องแนะนำเสมอว่า ไม่ควรหยุดยากันชักเองโดยเด็ดขาด

เมื่อผู้ป่วยตั้งครรภ์แล้ว ต้องแนะนำฝากครรภ์กับสูติ-นรีแพทย์ และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ต้องมีการประเมินทารกในครรภ์ว่ามีความพิการเกิดขึ้นหรือไม่ ต้องระมัดระวังไม่ให้มีปัจจัยกระตุ้น เพราะถ้าชักอาจส่งผลต่ออาการทารกในครรภ์ และการแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดได้

เมื่อครบกำหนดคลอดก็สามารถคลอดได้ตามปกติ ไม่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดคลอด ยกเว้นคลอดทางช่องคลอดปกติแล้วไม่สามารถคลอดได้ หรือมีข้อบ่งชี้การผ่าตัดคลอดหรือใช้คีมช่วยคลอดก็พิจารณาตามข้อบ่งชี้นั้นๆเป็นแต่ละรายไป

ถ้าเป็นไปได้ก่อนถึงกำหนดคลอด 1 สัปดาห์ แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยมานอนโรงพยาบาล ให้วิตามิน-เค เพื่อป้องกันและลดโอกาสเลือดออกในทารก รวมทั้งสังเกตอาการเพื่อให้การรักษาได้ทันที ถ้าผู้ป่วยมีอาการชักเนื่องจากช่วงใกล้คลอดผู้ป่วยจะมีโอกาสชักได้บ่อยกว่าช่วงอื่นๆ

หลังคลอดต้องมีการติดตามระดับยากันชัก เพราะระดับยาจะมีการเปลี่ยนแปลงหลังคลอด สามารถให้นมบุตรได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องระวังขณะให้นมบุตร เพราะถ้ามีอาการชัก อาจเกิดอันตรายต่อบุตรได้

ประสบการณ์ที่ผ่านมา ผู้ป่วยหญิงโรคลมชัก สามารถตั้งครรภ์คลอดบุตรได้ตามปกติครับ และบุตรก็สมบูรณ์ดีครับ ส่วนทารกที่พิการก็มักจะแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด ซึ่งผู้เป็นแม่และครอบครัวก็เสียใจแต่มันก็คุ้มต่อการอยากมีบุตรมิใช่หรือ


ทำอย่างไรถ้า โรคลมชักกำเริบตอนท้อง



คุณเป็นโรคลมชักและกำลังตั้งครรภ์ ซึ่งหมอต้องจัดคุณอยู่ในกลุ่มผู้ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากทั้งหมอสูติ และหมออายุรกรรมที่เชี่ยวชาญเรื่องลมชักอย่างใกล้ชิด ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น คือโอกาสที่เด็กเกิดมาผิดปกติจะสูงกว่าคนทั่วๆ ไป นอกจากนี้ยังจะชักมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ตับและไตจะเผาผลาญยา (Metabolize) ได้มากขึ้น การกินยากันชักในจำนวนที่น้อยเกินไป เพราะแม่มัวแต่ห่วงว่ากินยาแล้วจะมีอันตรายต่อลูก ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้แม่ชักมากขึ้น ยากันชักที่ทำให้เกิดความผิดปกติในเด็ก ได้แก่
-Phenytion
-Phenobarbital
-Primidone
-Valproate
-Carbamazepine
ถ้าต้องกินยากันชักหลายตัว ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการทำให้เด็กผิดปกติจริงๆ แล้วก่อนที่ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักจะตั้งครรภ์ ควรลดยากันชักให้เหลือเพียงตัวเดียว และพยายามใช้ยาขนาดน้อยที่สุดที่จะควบคุมการชักไว้ได้ ในผู้ป่วยที่ไม่ชักติดต่อกัน 2-5 ปี แพทย์อาจพิจารณาให้หยุดยาได้
ยากันชักต่างๆ จะทำให้สารโฟเลทในร่างกายลดน้อยลง ซึ่งมีผลทำให้เกิดความผิดปกติในระบบประสาทของเด็ก (Neural tube defect) ดังนั้นถ้ามีแผนจะตั้งครรภ์ ให้กิน Folate ก่อนที่จะตั้งครรภ์สักระยะหนึ่งก่อนยานี้ เป็นยาที่ถูกหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป
สำหรับคุณซึ่งขณะนี้กำลังตั้งครรภ์อยู่ควรได้รับการเช็คระดับยากันชักในเลือดทุกเดือนว่าระดับยาเพียงพอที่จะควบคุมการชักได้หรือไม่, ยามากไปหรือไม่ ฯลฯ หมอที่ดูแลคุณจะได้ปรับขนาดของยากันชักให้เหมาะสม
นอกจากนี้ยังต้องเจาะเลือดหา Maternal serum alpha fetoprotein การตรวจนี้จะดูความผิดปกติทางระบบประสาทของเด็ก เมื่อแม่ตั้งครรภ์ได้ 19-20 อาทิตย์ แพทย์จะอัลตราซาวด์ดูว่า เด็กผิดปกติไหม โดยจะดูหน้าดูอวัยวะให้ระบบประสาท ดูหัวใจ เป็นต้น แพทย์บางท่านอาจพิจารณาให้เจาะน้ำคร่ำมาตรวจความผิดปกติด้วย การที่แม่ชักระหว่างตั้งครรภ์จะมีอันตรายได้ เช่น ถ้าหากแม่ชักแล้ว ล้มไปกระแทกถูกท้อง อาจทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้เด็กขาดออกซิเจน และเสียชีวิตได้ หรือถ้าแม่สำลักอาหารระหว่างตั้งครรภ์เกิดจากการที่ตับและไตเผาผลาญ (Metabolize) ยากันชักได้มากขึ้นแล้ว ยังเกิดจาก
-แม่มีความเครียดมากขึ้น
-มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
-อาจนอนหลับไม่เพียงพอ
-กินยาไม่พอเพราะกลัวยาเป็นอันตรายต่อลูก ฯลฯ
ความผิดปกติที่พบในเด็กที่อาจเกิดขึ้นได้คือ อาจมีปากแหว่งเพดานโหว่ หัวใจผิดแกติ ระบบประสาทผิดปกติ (Meural tube defect) IQ ต่ำ พัฒนาการช้า ช่วงที่คลอดก็เป็นช่วงที่หมอต้องดูแลคุณอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการชักระหว่างคลอด ซึ่งถ้าดูและอย่างดี 90% ของการคลอดจะผ่านไปได้ด้วยดี หมอขอให้คุณรีบฝากครรภ์กับโรงพยาบาลใหญ่ๆ ที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านลมชักที่จะดูแลคุณอย่างดี และขอให้คุณและลูกแข็งแรงสมบูรณ์ และปลอดภัย

บทความจาก http://motherandchild.in.th

โรคลมชัก มีอาการชักแบบใดบ้าง



โรคลมชักนั้นหลายคนยังสงสัยว่า อาการเวลาผู้ป่วยชักทำอย่างไร เราถึงจะรู้ว่าเค้าชักเพราะเป็นโรคลมชัก เราจะทราบและแยกได้อย่างไร ว่านั่นคือการชักจากโรคดังกล่าวหรือ ชักจากโรคอื่น ผมเชื่อว่าหลายคนจะเจอเหตุการณ์เช่นนี้แต่ไม่สามารถที่จะแยกออกได้ว่าเกิดการชักเนื่องจากสาเหตุอะไร
อาการชักอาจจะสามารถแบ่งได้โดยง่าย ๆ เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ
กลุ่มผู้ป่วยแรกคือ กลุ่มที่มีอาการชักจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองบางส่วน อาการแสดงที่เกิดจากสมองทำงานผิดปกติเฉพาะตำแหน่งนี้ มักจะมีได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสมองที่ทำงานผิดปกตินั้นมีหน้าที่ควบคุมอะไร อาทิ ถ้าสมองส่วนที่มีการทำงาน ผิดปกติเฉพาะส่วนนั้นเกิดขึ้นบริเวณสมองส่วนที่ควบคุม กล้ามเนื้อแขนและใบหน้า อาการแสดงของอาการชักชนิดนี้จะเป็นเพียงการกระตุกเกร็ง ของกล้ามเนื้อใบหน้า หรือแขน แต่ถ้าหากสมองส่วนที่มีการทำงานผิดปกติในขณะที่ มีอาการชักนั้นเป็นสมองส่วนที่ควบคุม ประสาทสัมผัสรับรู้ของเขา ในขณะทีผู้ป่วยมีอาการชัก อาการแสดงออกจะเป็นเพียงอาการชา ของแขนในบริเวณ ที่สมองส่วนที่มีอาการชักควบคุมดูแล เป็นต้น
เนื่องจากแต่ละส่วนของสมอง มีหน้าที่การทำงานเป็นล้าน ๆ อย่างในชีวิตประจำวัน ทั้งความคิดอ่าน, อารมณ์, ความรู้สึก, ความคิด เป็นต้น ดังนั้นขณะที่สมองมีอาการชักนั้น อาการแสดงจึงสามารถแสดงออกได้ทั้งอาการชักเกร็งกระตุก หรืออาการแสดงผิดปกติ ที่ไม่ใช่เป็นอาการชักเกร็งกระตุกก็ได้ อาการชักที่ไม่ใช่อาการชักเกร็งกระตุกอาจจะมีได้ หลายรูปแบบ อาทิ ตาเหม่อลอย, ไม่รู้สึกตัว, ผงกศีรษะหรือสัปหงก, สะดุ้งผวา หรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ และไม่รู้สึกตัว อาการชักชนิดที่ไม่ได้ แสดงออก ในรูปแบบของอาการชักเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อของร่างกายมักจะเป็น อาการที่แอบแฝง และไม่เป็นที่สังเกตของคนทั่วไป และมักจะนำมาพบแพทย์ช้า หรือวินิจฉัยได้โดยยาก

แนะนำ สมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย



สมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทยได้มีการก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะเผยแพร่ความรู้ และวิทยาการเกี่ยวกับโรคลมชักให้แก่แพทย์, บุคคลากรทางการแพทย์, ผู้ป่วยโรคลมชัก และประชาชนทั่วไป ตลอดจนส่งเสริมการแพทย์สาขาโรคลมชักและการวิจัยเกี่ยวกับโรคลมชักในประเทศ ไทย
Website นี้ได้จัดทำขึื้นเพื่อสนองกับวัตถุประสงค์ของสมาคม โดยจะนำข่าวสารทางวิชาการเกี่ยวกับโรคลมชักที่จัดทำขึ้นโดยทางสมาคม แผ่นพับความรู้สำหรับประชาชน ข่าวสารเกี่ยวกับการประชุมวิชาการมาเสนอทาง website นี้  ทางคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านสมาชิกสมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย แพทย์และประชาชนผู้สนใจ จะได้ประโยชน์จากเนื้อหาทางวิชาการที่ทางสมาคมได้มีการจัดทำขึ้นอย่างต่อ เนื่อง

มันเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปที่จะได้นำข่าวที่สมาคมนี้ไปบอกต่อเพื่อป้องกัน และดูแลสุขภาพของตัวเองและคนใกล้ตัว ให้รู้วิธีการดูแลผู้ป่วย และวิธีรักษานี้
คณะผู้จัดทำ